ฤดูไหนน้องแมวต้องระวังโรคอะไรบ้าง รู้ก่อนเพื่อป้องกันและรับมือได้ทัน

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่คนเท่านั้นที่จะป่วย… แต่บรรดาสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณก็มีโรคที่มาพร้อมสภาพอากาศเช่นกัน Regalos พาทาสแมวมาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ ที่อาจเข้ามาประชิดตัวเจ้าเหมียวตัวโปรดของคุณได้ทุกเมื่อ ฤดูกาลไหน มาพร้อมโรคอะไรบ้าง ทาสรู้ไว้จะได้ป้องกันได้ถูกวิธี

โรคที่มากับ ‘ฤดูร้อน’

  • โรคพิษสุนัขบ้า : เปิดหัวมาว่า โรคพิษสุนัขบ้า แต่โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะในสุนัขเท่านั้น แต่รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย ไม่เว้นแม้แต่เจ้าเหมียวของคุณ! โดยโรคนี้ ติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลาย หรือเลียบริเวณที่มีรอยแผลต่างๆ และเป็นโรคที่เป็นแล้วไม่หาย ต้องจากโลกนี้ไปอย่างเดียวเท่านั้น
    • อาการ : เจ้าเหมียวจะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย น้ำลายไหลมาก เริ่มอดข้าวอดน้ำ ไม่แตะอาหาร ขาอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตในที่สุด
    • วิธีป้องกัน : ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด : หากเจ้าเหมียวของคุณเป็นสายพันธุ์ที่มาจากเมืองหนาว ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นฮีทสโตรกได้ง่ายในฤดูร้อน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่อุณหภูมิสูงเกินไป จนส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเจ้าเหมียวสูงกว่าปกติ จนไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ และทำให้อวัยวะภายในล้มเหลวเฉียบพลัน
    • อาการ : เมื่อเจ้าเหมียวมีอาการหอบเหนื่อย น้ำลายยืด หายใจไม่ทัน และอาจเกรี้ยวกราดผิดปกติ และมึนงง
    • วิธีป้องกัน : ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท มีลมพัดผ่าน หมั่นป้อนน้ำเจ้าเหมียวบ่อยๆ

โรคที่มากับ ‘ฤดูฝน’

  • โรคพยาธิหนอนในหัวใจแมว : ยุงกับฝนเป็นของคู่กัน และยุงก็เป็นพาหะของโรคพยาธิหนอนในหัวใจแมว โดยโรคนี้จะเกิดจากการที่ยุงไปกัดสุนัขหรือแมวที่มีตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในระยะติดโรค จากนั้นก็บินมากัดเจ้าเหมียวของเรา ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเข้าไปสู่กระแสเลือด และใช้เวลา 5-8 เดือน เพื่อเจริญเติบโตเต็มวัย
    • อาการ : สำหรับกรณีไม่รุนแรงมาก เจ้าเหมียวจะเบื่ออาหาร อ่อนแรง คล้ายๆ กับเป็นโรคหอบหืด ส่วนอาการเฉียบพลัน จะมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง ไอ จาม หายใจลำบากและเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
    • วิธีป้องกัน : พาเจ้าเหมียวไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้ดี และการเลี้ยงแมวระบบปิดจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดโรคได้ หากมีอาการรีบพาไปพบสัตวแพทย์ด่วนๆ
  • โรคฉี่หนู : โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคที่ติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และมีอัตรายถึงชีวิต โดยมีหนูเป็นพาหะ และแพร่กระจายผ่านน้ำ ที่มีสารปนเปื้อนจากปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งน้ำนิ่ง ดิน โคลนต่างๆ ที่น้องแมวของเราชอบลงไปเล่น
    • อาการ : เมื่อรับเชื้อเข้ามา เจ้าเหมียวอาจจะไม่แสดงอาการ แสดงอาการกึ่งเฉียบพลัน เช่น มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ปัสสาวะเป็นเลือด มีภาวะโลหิตจาง หรือแสดงอาการแบบเฉียบพลัน เช่น ไข้สูง ก็เป็นได้ หากเกิดในลูกแมว มีโอกาสเสียชีวิตสูงมากถึง 80% เชียวนะ
    • วิธีป้องกัน : ป้องกันอย่าพาเจ้าเหมียวตัวโปรดไปอยู่ในสถานที่เปียกๆ เป็นเวลานาน พาไปฉีดวีคซีนป้องกันโรคฉี่หนู และหมั่นทำความสะอาดที่อยู่ของแมวเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคได้

โรคที่มากับ ‘ฤดูหนาว’

  • ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ : เมื่ออุณหภูมิต่ำลง อาจทำให้ร่างกายของเจ้าเหมียว ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในอุณหภูมิปกติได้ ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทต่ำลง การทำงานของหัวใจ การไหลเวียนของเลือด การหายใจ และภูมิคุ้มกันลดลงตาม โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นง่ายในเจ้าเหมียวอายุน้อย และเจ้าเหมียวสูงอายุ ที่ไวต่ออุณหภูมิ
    • อาการ : ในระดับอ่อนๆ เจ้าเหมียวจะมีอาการอ่อนแรง สั่น ในระดับปานกลาน กล้ามเนื้อจะชักกระตุก ความดันต่ำ หายใจลึกขึ้นและช้าลง ส่วนอาการระดับรุงแรน รูม่านตาจะขยาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะและนำไปสู่อาการโคม่าได้
    • วิธีป้องกัน : สำหรับแมวที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น แมวอายุน้อย-อายุมาก ไขมันในร่างกายสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
  • โรคหวัดแมว : ไม่ว่าจะเป็นแมวช่วงวัยไหน ก็สามารถติดโรคหวัดแมวได้ทั้งนั้น! โดยโรคหวัดแมว เกิดจากเชื้อไวรัสจำเพาะในแมว และมีอาการรุนแรงในลูกแมวและแมวที่กำลังป่วย ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ เพียงแค่พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์
    • อาการ : หากเจ้าเหมียว มีอาการซึมๆ เบื่ออาหาร ไอ จาม มีน้ำมูก จะมีเสมหะหรือไม่มีเสมหะก็ได้ รวมถึงมีขี้ตาเยอะ ตาบวม น้ำตาไหล ลิ้น เหงือก ช่องปากอักเสบ และนำมาสู่การกินอาหารน้อยลง
    • วิธีป้องกัน : ทาสสามารถพาแมวไปเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยการทำวัคซีนได้ตั้งแต่มีอายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป และฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันในทุกๆ ปี และสามารถรักษาหายได้ด้วยการรักษาตามอาการ

วิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยให้เจ้าเหมียวอยู่ห่างไกลจากโรคร้ายเหล่านี้ คือ หมั่นดูแลสุขภาพอนามัยของที่อยู่อาศัยให้สะอาดเป็นประจำ พาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ และทำวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังต้องดูแลเจ้าเหมียวให้มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทาน พร้อมสู้กับทุกฤดูกาล ด้วยการเลือกอาหารแมว รีกาลอส ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน และจำเป็นต่อร่างกายเจ้าเหมียว! ให้เจ้าเหมียวมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง พร้อมเผชิญหน้ากับทุกๆฤดูได้เป็นอย่างดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อ่านรายละเอียดนโยบายการใช้คุกกี้ที่นี่

บันทึกการตั้งค่า